ต้นทุนการผลิต

ต้นทุนการผลิตมีองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ

  1. ค่าวัสดุ (Material Cost)
  2. ค่าแรงงาน (Labor Cost)
  3. ค่าโสหุ้ย (Overhead)
วัตถุดิบ ถือเป็นส่วนสำคัญอย่างมากเพราะเป็นวัสดุที่นำมาใช้เพื่อการผลิตโดยตรง ต้นทุนการผลิตจึงประกอบด้วยส่วนที่เป็นค่าวัตถุดิบที่ใช้ ซึ่งปริมาณการใช้จะแปรผันกับปริมาณการผลิตโดยตรง เช่น โรงงานผลิตถุงพลาสติก มีเม็ดพลาสติกเป็นวัสดุดิบ, โรงงานผลิตยางรถยนต์ ก็จะมียางพาราเป็นวัตถุดิบ, โรงงานผลิตเสื้อผ้า ก็จะมีผ้าเป็นวัตถุดิบ เป็นต้น. โดยวัตถุดิบ ยังแยกออกได้เป็น วัตุดิบทางตรง (raw material) และวัสดุอื่นที่ใช้ประกอบการผลิตอื่นๆ หรือ วัสดุทางอ้อม (sub material ) เช่น ลวด เชื่อม, มีดกลึง, กระดาษทราย โดยส่วนมากค่าใช้จ่ายวัสดุจำพวกนี้ จะถูกจัดอยู่ในค่าโสหุ้ย (overhead) ซึ้งในทางปฏิบัติจริงๆ และในส่วนของต้นทุนทางอ้อมอาจมีแยกย่อยออกไปได้อีกตามความเหมาะสม แต่ให้ระวังในเรื่องของการจัดหมวดหมู่ ประเภท ของหลายๆ โรงงาน จะเจอปัญหาที่ว่า พอมีหลากหลายประเภทแล้ว ไม่สามารถควบคุมได้

ค่าแรงงาน คือ ค่าใช้จ่ายที่จ่ายไปเพื่อกาเปลี่ยนแปลงสภาพของวัตถุดิบให้เป็นสินค้าสำเร็จรูป มีค่าใช้จ่ายที่เป็นส่วนที่ใช้กับการผลิตโดยตรง เรียกว่า ค่าแรงงานทางตรง เช่น ค่าจ้างผลิต, เงินเดือนของพนักงานที่ควบคุมเครื่องจักร เป็นต้น ค่าแรงส่วนนี้จะคิดเข้าไปเป็นต้นทุนผลิตภัณฑ์ของแต่ละผลิตภัณฑ์โดยตรง จึงแปรผันตามกระบวนการผลิต เมื่อผลิตมากก็ต้องทำงานมากค่าแรงงานทางตรงจะสูง ผลติน้อยทำงานน้อยค่าแรงงานทางตรงจะต่ำ ส่วนค่าแรงงานที่จะคิดเป็นค่าใช้จ่ายโรงงานคือ ค่าแรงงานทางอ้อม เช่น เงินเดือนหรือค่าจ้างทำความสะอาด, ยาม, คนดูแลคลังสินค้า, เจ้าหน้าที่สำนักงาน, วิศวกร เป็นต้น ส่วนค่าล่วงเวลา ถ้าเป็นการจ่ายเพื่อผลิตตามใบสั่งผลิตที่ต้องการผลผลิตที่เพิ่มขึ้นจะถือได้ว่าเป็นค่าแรงทางตรงหรือต้นทุนแรงงาน ถ้าเป็นส่วนที่ทำเพื่อการทำงานที่ยังไม่เสร็จในเวลาตามเป้าหมายที่กำหนด จะถือเป็นค่าแรงทางอ้อม ซึ่งจะเป็นส่วนของต้นทุนค่าใช้จ่ายโรงงาน.

ค่าใช้จ่ายโรงงาน หรือ ค่าโสหุ้ยการผลิต คือ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากค่าแรงงานทางตรงและค่าวัสดุทางตรง จะประกอบด้วยค่าใช้จ่ายดังต่อไปนี้
  • ค่าวัสดุทางอ้อม
  • ค่าแรงงานทางอ้อม
  • ค่าสาธารณูปโภค
  • ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด
  • ค่าเสื่อมราคาเรื่องจักรและสินทัพย์อื่นๆ
  • ค่าซ่อมแซมเครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์การผลิต
  • ค่าเช่า
  • ค่าเบี้ยประกันภัยสินทรัพย์
  • ค่าภาษี(ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล)
  • ค่าสวัสดิการ
ค่าใช้จ่ายโรงงานจะอยู่ในรูปของค่าใช้จ่ายคงที่หรือไม่คงที่ก็ได้ แต่จะไม่แปรผันโดยตรงตามการผลิตที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง ค่าใช้จ่ายโรงงานจึงเป็นส่วนของค่าใช้จ่ายที่เป็นต้นทุนซึ่งจะสามารถพิจารณาลดได้ก่อน เพราะหลายๆส่วนของต้นทุนที่ลดไป อาจจะไม่กระทบต่อการผลิตเลย
ค่าใช้จ่ายโรงงานหรือค่าโสหุ้ยการผลิต เมื่อรวมกับต้นทุนแรงงานจะเรียกว่า ต้นทุนแปรสภาพ(Conversion Cost) ซึ่งจะเป็นต้นทุนที่ใช้ในการกำหนดค่าจ้างทำ สำหรับงานสั่งทำที่มีการนำวัสดุมาให้แปรรูป.

0 comments:

Post a Comment