การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการลงทุน

ธุรกิจผลิตสินค้าเพื่อจำหน่าย

ในธุรกิจผลิตสินค้าเพื่อจำหน่าย จะแตกต่างจากธุรกิจซื้อมาขายไป ค่อนข้างมาก เพราะมีรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเพิ่มเข้ามา ดังนั้น ก่อนจะจะเริ่มโครงการ ควรมีการศึกษาความเป็นไปได้ เพื่อให้มั่นใจว่า จะสามารถดำเนินกิจการไปได้ มีการวิเคราะห์ล่วงหน้า จนได้ข้อสรุปก่อนดำเนินโครงการว่า "เราควรจะดำเนินกิจการหรือไม่" หรือ ถ้าต้องการดำเนินกิจการต่อไป "ควรต้องปรับปรุง วางแผนดำเนินกิจการอย่างไร" หรือ "ล้มเลิกแผนการดำเนินงานไปเลย" เพื่อศึกษาธุรกิจใหม่ที่มีความเป็นไปได้มากกว่านี้
ในการศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนในกิจการผลิตสินค้าเพื่อจำหน่าย มีสิ่งหลักๆ ที่ต้องศึกษา 3 ปะการด้วยกันคือ
  1. การศึกษาด้านการตลาด : เป็นสิ่งแรกที่ต้องศึกษา เนื่องจากกว่า เป็นการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในทางการตลาด เพื่อให้รู้ว่า ขนาดของตลาด และโอกาสที่จะเข้าไปช่วงชิง แข่งขันนั้น มีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด คุ้มค่าที่จะลงทุนหรือไม่ ถ้าการศึกษาด้านการตลาดจบว่า คุ้มค่ากับการที่จะลงทุน ค่อยไปศึกษาด้าน การผลิต/วิศวกรรม, ด้านการเงินต่อไป หรือ จากการศึกษาพบว่า ตลาดค่อนข้างจะเล็ก หรือโอกาสที่จะเข้าไปแทรกแซงได้ค่อนข้างน้อย จะได้ไม่ทำต่อ และหันไปศึกษาด้านอื่นที่มีความคุ้มค่ามากกว่า.
  2. การศึกษาด้านการผลิต/ด้านวิศวกรรม : หลังจากที่เราทราบถึงขนาดของตลาดแล้ว จะทำให้เราต้องคิดต่อไปว่า กำลังการผลิตที่มีอยู่่ในปัจจุบัน หรือ กำลังจะลงทุน จะเพียงต่อต่อการตอบสนองความต้องการทางการตลาดหรือไม่ จะต้องมีการศึกษาด้านการผลิต/วิศวกรรม เพื่อให้ได้มาซึ่ง
    • ขั้นตอนการผลิตควรเป็นอย่างไร?
    • โรงงานควรตั้งอยู่ที่ไหน?
    • วัตถุดิบจะหาได้จากที่ไหนและปริมาณการใช้เป็นอย่างไร?
    • ต้องการเครื่องจักรอุปกรณ์อะไรบ้าง? เป็นต้น
  3. การศึกษาด้านการเงิน : จากผลการศึกษาด้านการตลาด ด้านการผลิต/วิศวกรรม จะนำมาวิเคราะห์ด้านการเงินเพื่อพิจารณาว่า จะต้องใช้เงินลงทุนเท่าไหร่,จะหาเงินทุนได้จากไหน, มีค่าใช้จ่ายในการลงทุนด้านต่างๆ เป็นยังไงบ้าง, จะคืนทุนได้เมื่อไหร่ เป็นต้น
นอกจากนี้ยังจะต้องศึกษาด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเช่น ด้านการบริหาร ด้านภาษี ด้านสิ่งแวดล้อมๆ ซึ่งทุกอย่างคือคือ "ต้นทุน"

สิ่งที่ต้องพิจารณาตาม 3 หัวข้อหลักๆ มีดังนี้

  1. ความเป็นไปได้ด้านการตลาด
    1. ลักษณะของผลิตภัณฑ์ : เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีขายอยู่แล้วหรือไม่? เป็นผลิตภัณฑ์ทดแทนหรือผลิตภัณฑ์ใหม่?
    2. ลักษณะของตลาด : เป็นตลาดเพื่อการอุตสาหกรรม หรือ ตลาดสินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภค?
    3. การเข้าสู่ตลาด : แผนการการและแผนการเจาะตลาดเป็นอย่างไร?
    4. ขนาดของตลาด : คู่แข่งมีมากน้อยแค่ไหน, การเปลี่ยนแปลงและปัจจัยต่างๆ ที่จะมีผลกระทบที่ปริมาณความต้องการของลูกค้า, ช่วงเวลาใดที่มีตลาดมีการเปลี่ยนแปลง, ราคาที่ลูกค้าจะยอมซื้อสินค้า, ราคาของคู่แข่ง. คุณภาพที่ลูกค้าต้องการ รวมคุณถึงคุณภาพของคู่แข่ง เป็นต้น
    5. ความต้องการของผลิตภัณฑ์ : ต้องวิเคราะห์ทั้งความต้องการในปัจจุบันและความต้องการในอาคตเพื่อให้สามารถวางแผนทางกาตลาดได้.
    6. โอกาสของผลิตภัณฑ์ : ปัจจัยต่างๆ ที่จะมีผลทำให้ส่วนแบ่งทางการตลาดมีการเปลี่ยนแปลง การที่จะสามารถเข้าไปแย่งส่วนแบ่งกาตลาดได้ รวมถึงความเสี่ยงต่างๆ
    7. ต้นทุนการขายและจัดจำหน่าย : เช่น ต้นทุนด้านการโปรโมทสินค้า, ต้นทุนในการผลิตสินค้าเพื่อทดลองเป็นเป็นตัวอย่างให้กับลูกค้า
  2. ความเป็นไปได้ด้านวิศกรรม
    1. รายละเอียดของกระบวนการผลิต : เป็นการศึกษาเพื่อให้รู้ว่า มีความเป็นไปได้ทางเทคนิค (Technical Feasible) หมายถึง สามารถสร้างผลิตภัณฑ์นั้นได้โดยใช้เทคนิคที่มีอยู่หรือสามารถหามาได้ เช่น การผลิตถ่านอัดแท่งให้ใช้งานได้ต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง ซึ่งในทางเทคนิคในปัจจุบันยังเป็นไปไม่ได้ เป็นต้น
    2. ความชำนาญพิเศษที่ต้องการ : ทำให้เราได้ทราบว่า การผลิตสินค้าของเรา ต้องการความชำนาญพิเศษอะไรบ้าง ต้องหาบุคลากรจากไหน ซึ่งแน่นอนต้องมีต้นทุนที่ค่อนข้างสูง คุ้มกับการลงทุนหรือไม่?
    3. จำเป็นต้องร่วมทุนหรือไม่ : จากเครื่องจักร และเทคโนโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบันจะบอกได้ว่า เราจำเป็นต้องร่วมลงทุนหรือไม่. การร่วมลงทุนไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องการเงินเสมอไป อาจจะเป็นด้านเทคนิค หรือการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีเฉพาะของแต่ละบริษัทเพื่อนำมาพัฒนาร่วมกันเพื่อให้ได้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุด
    4. พลังงานที่จำเป็นต้องใช้ : ชนิดของพลังงานที่ใช้ ปริมาณของพลังงานที่ใช้ ควรมีการวิเคราะห์หลายๆ ด้าน เช่น  ต้องการซื้อเครื่องจักรที่ใช้ไฟฟ้า 380 Volt แต่ต้องการตั้งโรงงานอยู่ในแหล่งของแรงงานราคาถูกซึ่งไฟฟ้าขนาด 380 Volt ยังเข้าไปไม่ถึง ต้องมีต้นทุนเพิ่มขึ้นมาค่อนข้างสูง จะคุ้มค่าหรือไม่? อีกส่วนหนึ่งที่สำคัญมากคือ ปริมาณของพลังงานที่ต้องการใช้เพียงพอหรือไม่เพราะจะส่งผลกระทบต่อยอดการผลิตโดยตรง
    5. แรงงานและทักษะที่ต้องการ : ความสามารถด้านแรงงานที่ต้องการเป็นอย่างไร? เหมาะสมกับค่าแรงหรือไม่? ถ้าจำเป้นต้องจ่ายในส่วนที่เพิ่มขึ้นของค่าแรงจะต้องมีการพัฒนา ทักษะความสามารถขึ้นมาถึงระดับไหน?
    6. ขนาดของโรงงาน : ขนาดของโรงงานต้องเหมาะสม ทั้งในปัจจุบันและอนาคต เช่น ถ้าเราคิดว่าต้องสร้างขนาดโรงงานที่ใหญ่ไว้ก่อน เพื่อรองรับการผลิตที่จะเติบโตขึ้นมาในอนาคต อาจจะต้องเพิ่มทุนขึ้นมาค่อนข้างมาก ซึ่งจะคุ้มหรือไม่คุ้มขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์ด้านการเงิน ผลตอบตอบการลงทุน ระยะเวลาในการคืนทุนด้วย หรือ ถ้าเราสร้างโรงงานพอดีกับขนาดของกำลังการผลิตในปัจจุบัน โดยที่ไม่ได้คำนึงถึงโอกาสเติบโตของตลาดเลย อาจจะเกิดการเสียโอกาสทางธุรกิจเช่น เมื่อมีการสั่งซื้อเข้ามาจำนวนมาก ทำให้ผลิตไม่ทัน ลูกค้าต้องหันไปสั่งซื้อจากคู่แข่งรายอื่น. 
    7. ต้นทุนการผลิต : ต้นทุนการผลิตมีการอย่างมากต่อการที่จะตัดสินว่า ธุรกิจจะอยู่หรือ ลองนึกดูนะครับ ว่า หากคุณเป็นลูกค้า ต้องการซื้อสินค้าที่เหมือนกันทุกอย่าง แน่นอนว่าคุณก็ต้องซื้อที่มีราคาถูกกว่า ซึ่งการที่มีราคาถูกนี่เอง เกิดจากต้นทุนที่ต่ำ เพราะฉะนั้น การศึกษาต้นทุน โดยเฉพาะต้นทุนการการผลิต ทำให้เรารู้แนวทางในการลดทุนทุน เพื่อที่จะทำให้เราสามารถสู้ราคากับคู่แข่งได้ หรือ มีกำไรเพิ่มมากขึ้นในกรณที่ปัจจุบันที่ราคาของเราต่ำกว่าคู่แข่งอยุ่แล้ว ซึ่งต้นทุนการการผลิตที่ควรจะศึกษา ประกอบด้วย 
      1.  ต้นทุนด้านวัตถุดิบ จะสามารถซื้อวัตถุดิบที่มีราคาถูกได้อย่างไร จะคำนวณปริมาณการสั่งซื้อขั้นต่ำที่เท่าไหร่จึงจะเหมาะสม?
      2. ต้นทุนด้านแรงงาน เป้าหมายประสิทธิภาพในการผลิตของพนักงานแต่ละระดับเป็นอย่างไร เช่น ถ้า พนักงาน 1 คน มีรายได้วันละ 300 บาท สามารถผลิตชิ้นงานได้วันละ 50 ชิ้น ราคาขาย 200 บาท แสดงว่า ต้นทุนแรงงาน =300 บาท (50 ชิ้น X 200 บาท) = 3%
      3. ต้นทุนด้านคุณภาพ เช่น ถ้ามีการทำงานเสียเกิดขึ้น 1 ครั้งก็หมายความว่าต้นทุนก็จะเกิดขึ้นสองเท่าเช่นเดียวกัน เพราะต้องผลิตใหม่ 
    8. มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร? ถ้าการผลิตเป็นไปอย่างราบรื่น ไม่มีปัญหา มียอดขายอย่างต่อเนื่อง แต่ปรากฎว่า การผลิตของเรา ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรือชุมชนข้างเคียง ก็อาจเป็นเรื่องใหญ่ถึงขึ้นต้องหยุดการได้เลยทีเดียว เช่น มีเครื่องจักรที่ส่งเสียดังรบกวนชุมชน มีการปล่อยน้ำเสียลงในแหล่งน้ำที่คนในชุมชนต้องใช้บริโภค อุปโภคในชีวิตประจำวัน อาจทำให้เกิดมีการร้องเรียน ฟ้องร้องขึ้นขั้นปิดกิจการได้ ดังนั้นจึงต้องมีการศึกษผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมด้วย รวมถึง การจัดกิจกรรม ชุมชมสัมพันธ์ เช่น การเป็นผู้สนับสนุนอุปกรณ์การศึกษา อุปกรณ์กีฬาให้กับโรงเรียนในท้องถิ่น เป็นต้น 
  3. ความเป็นไปได้ด้านการบริหาร
    1. องค์กรถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่?
    2. ลักษณะโครงสร้างขององค์กร
    3. ถ้าต้องร่วมทุน ต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง?
    4. เจ้าของโครงการ
    5. ลิขสิทธิ์ต่างๆ
    6. ข้อตกลงอื่นๆ
    7. ฝ่ายบริหารที่ต้องการ
    8. ฝ่ายบริหารโครงการ
  4. ความเป็นไปไดด้านการเงิน
    1. เงินลงทุนคงที่
    2. เงินหมุนเวียนที่ต้องการ
    3. มูลค่าการขายทั้งสิ้น
    4. โครงการด้านการลงทุน
    5. กระแสเงินสด
    6. ระยะเวลาคื่นทุน
    7. ผลตอบแทนการลงทุน
  5. ความเป็นไปได้ด้านเศรษฐศาสตร์
    1. มูลค่าเพิ่ม
    2. ผลจากเงินเฟ้อ
    3. อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง
    4. เงินดเชย ส่วนที่สนับสนุนจากรัฐ
    5. อัตราผลตอบแทนทางธุรกิจ
    6. การว่าจ้าง
    7. รายได้่จากการส่งออก
    8. รายได้จากการทดแทนการนำเข้า





0 comments:

Post a Comment