แนวคิดการจัดทำแผนธุรกิจ

แนวคิดการจัดทำแผนธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อแนวทางการปฏิบัติในอนาคตขององค์กร เสนอพิจารราสินเชื่อนักลงทุน เจ้าของกิจการ ทีมงาน และผ้ที่เกี่ยวข้องมีความมั่นใจในการดำเนินกิจการให้ประสบความสำเร็จ

 1. ภาพรวมของการจัดทำแผนธุรกิจ

ผู้บริหารทุกระดับของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ พร้อมด้วยประสบการในการวางแผนธุรกิจ เนื่องจากเป็นทักษะบริหารที่เจ้าของ/ผู้บริหารธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ส่วนใหญ่ยังขาดอยู่มาก ในขณะที่การวางแผนธุรกิจเป็นเครื่องมือที่สำคัญมากในการลดความเสี่ยง และการเพิ่มโอกาสที่จะประสบความสำเร็จและมีความเจริญเติบโตมั่นคงสำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม.

2. วัตถุประสงค์ของการจัดทำแผนธุรกิจ

  •     เพื่อนำความรู้ความเข้าใจ และทักษะในการจัดทำแผนธุรกิจและช่วยให้ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มีความรู้ความเข้าใจในการจัดทำแผนธุรกิจภาคอุตสาหกรรม การค้า และภาคบริการ
  • ช่วยให้ผู้ประกอบการตระหนักถึวคสามสำคัญของการจัดทำแผนธุรกิจ/สามารถจัดทำแผนธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล.

3. การวางแผนธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

    3.1 ความหมายโดยทั่วไป

  • การวางแผนเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหาร ที่ต้องกระทำอย่างต่อเนื่อง ครอบคุลมทุกงานขององค์กร และเป็นเรื่องที่มุ่งถึงกิจกรรมในอานคตเป้นสำคัญ

    3.2 ลักษณะของการวางแผน

  • การวางแผนเป็นงานทางการบริการที่ผู้บริหารต้องกระทำอย่างต่อเนื่อง
  • ครอบคุลมทุกกิจการภายในองค์กรและควรเชื่อมโยงกับองค์กรภายนอกที่เกี่ยวข้อง
  • เป็นการมุ่งอนาคต คิดวิเคราะห์กิจกรรม หรืองานที่จะทำในอานคต
  • เป็นเครื่องมือลดความเสี่ยง เป็นวิธีที่มุ่งพยายามเปลี่ยนสิ่งที่ไม่แน่นอนให้องค์กรมีโอกาสติดตามได้ หรือแสวงหาหนทางที่ปลอดภัยเพื่อให้เกิดความมั่นใจในการดำเนินงานช่วยให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้ทรัพยากร

4. บทนิยมแผนธุรกิจ

แผนธุรกิจ คือ แผนงานทางธุรกิจที่แสดงถึงกิจกรรมต่างๆ ที่ต้องปฏิบัติในการลงทุนประกอบกิจการโดยมีจุดเริ่มต้นจาการผลิตสินค้าหรือบริการอะไร มีกระบวนการปฏิบัติอย่างไรและผลจากการปฏิบัติออกมาได้มากน้อยเพียงใด ใช้งเินงบประมาณ กำลังคน วัตถุดิบ เครื่องจักร อุปกรณ์ เครื่องมือ วิธีการจำนวนเท่าไหร่ เพื่อให้เกิดเป็นสินค้าและบริการแก่ลูกค้า และจะทำธุรกิจอย่างไรจึงจะอยู่รอด โดยทั่วไปแผนธุรกิจจะมีความสำคัญและต่อเนื่องงกันแต่สิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญในกระบวนการตัดสินใจก่อนการลงทุน คือ การศึกษาโครงการ (Project Feasibility Study) ซึ่งเมื่อศึกษาแล้วจะนำผลการศึกษามาตัดสินใจ จึงกล่าวได้ว่า การศึกษาโครงการเป็นส่วนหนึ่งของแผนธุรกิจ

5. ขั้นตอนการจัดทำแผนธุรกิจ

    5.1 ระยะเตรียมการลงทุน (Pre-Investment Stage) 

เป็นระยะที่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจะต้องศึกษาถึงสภาวะทั่วไปของผลิตภัณฑ์ ที่ต้องการลงทุนว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ เมื่อเลือกผลิตภัณฑ์ได้แล้วก็จะทำการศึกษาความเป็นไปได้ของการลงทุน (Project Feasibility Study) หลังจากนั้นก็จะนำผลของการศึกษามาทำการตัดสินใจอีกครั้งว่า มีความเหมาะสมต่อการลงทุนหรือไม่

    5.2 ระยะก่ารลงทุน (Investment Stage)

เป็นช่วงระยะเวลาที่ตัดสินใจการลงทุนแล้ว จึงมาเริ่มดำเนินการก่อสร้างอาคาร โรงงาน สั่งซื้อเครื่องจักร อุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวก รับสมัครพนักงาน ฝึกอบรมพนักงานในสายผลิตต่างๆ รวมทั้งการประสานหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อให้โครงการมีความพร้อมและสามารถผลิตได้ตามระบบแผนงานที่ตั้งไว้.

    5.3 ระยะดำเนินการ (Operation Stage)

เป็นระยะดำเนินการผลิตสินค้าตามแผนงานที่กำหนดไว้ โดยผู้บริหารจะเป็นผู้ดูแลและแก้ปัญหาต่างๆ รวมทั้งประสานงานให้การผลิต การขาย การจัดการ และการเงิน เป็นไปตามแผนงานที่กำหนดวไ้ รวมทั้งประเมินผลงานจนสิ้นสุดโครงการ

6. การใช้ข้อมูลในการวางแผน และการควบคุม

การวางแผนงานเป้นการกำหนดวัตถุประสงค์ กลยุทธ์ นโยบาย แผนงาน วิธีการที่จะช่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์เหล่านั้น ดังนั้น ในการวางแผนผู้บริหารจึงจำเป็นต้องใช้ข้อมูลทั้งข้อมูลภายในองค์กร เช่น ข้อมูลแสดงฐานะทางการเงิน ผลประกอบการ เป็นต้น และข้อมูลจากภายนอกที่เกี่ยวข้อง เช่น สภาวะแวดล้อมภายนอก ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี แหล่งวัตถุดิบเพื่อนำมาวิเคราะห์จัดทำแผนงานที่ดีที่เหมาะสมกับสถาวะทุกๆ ด้าน และการนำไปปฏิบัติ.
ส่วนการควบคุมเป็นการวัดผลการปฏิบัติงาน การแก้ไขข้อบกพร่อง ผู้บริหารจะไม่สามารถวัดผลงานได้ ถ้าไม่มีมาตรฐาน ไม่มีแนวทางการวัด ข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการควบคุมได้แก่ ข้อมูลที่เป็นมาตรฐานในลักษณะของวัตถุประสงค์ งบประมาณ เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบ ตลอดจนการปรับเปลี่ยนแผนงาน.

7.ประโยชน์ของการวางแผนธุรกิจ

    7.1 สำหรับเจ้าของกิจการ

  • เพื่อกำหนดเป้าหมายในการลงทุน
  • เพื่อกำหนดกลยุทธ์ในการทำงาน
  • เพื่อสามารถเผชิญกับปัญหาและแก้ปัญหาได้
  • เพื่อกำหนดอาคตกิจการ โดยศึกษาแนวคิดบนกระดาษาเป็นการประหยัดและลดความเสี่ยง

    7.2 สำหรับสถาบันการเงิน

  • เพื่อพิจารณาสินเชื่อ
  • เพื่อประเมินผลกิจการ

    7.3 สำหรับนักลงทุน

  • เพื่อดูผลตอบแทน หากเข้าร่วมลงทุน

    7.4 สำหรับผู้ปฏิบัติงาน

  • เพื่อให้ทราบธุรกรรมล่วงหน้าที่จะทำของแต่ละหน่วยงาน
  • เพื่อประสาน และสร้างทีมงาน
  • เพื่อกำหนดวิธีการแก้ปัญหาและปรับปรุงพัฒนา

8. ข้อควรระวังในการวางแผนธุรกิจ

  • การวางแผนต้องอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลและความเป็นจริง และแสวงหาข้อมูลข่าวสารและคำแนะนำจากที่ปรึกษาอาชีพ
  • ต้องมีความยืดหยุ่น ต้องมีการเปลี่ยนแปลงของตลาดและลูกค้าแม้มีเงื่อนไขเปลี่ยนแปลงไปบ้างก็ยังสามารถดำเนินการทดแทนได้
  • ต้องคาดหมายเหตุการณ์ หรืออุปสรรคต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้
  • มุ่งมั่นสัมฤทธิ์ผลเลิศเกินไป
  • ต้องนำแผนธุรกิจที่จัดทำดีแล้วไปปฏิบัติจริง ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลแก่องค์กร
  • เมื่อนำแผนธุรกิจไปปฏิบัติแล้ว ต้องมีการติดตาม ทบทวน แก้ไข และปรับปรุงพัฒนาทุกเดือนอย่างต่อเนื่อง
  • ผู้นำ ผู้บริหารทุกระดับและพนักงานต้องให้ความร่วมมือ ร่วมใจและร่วมกันทำอย่างจริงจังและจ่ายจริงจึงจะเกิดผล.
// ========================== //

0 comments:

Post a Comment